วิชาก้าวทันโลกศึกษา 2 หน่วยที่ 3
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล
บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนประกอบของสภาพบุคคล
1. ชื่อตัว - ชื่อสกุล
2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ
3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล
4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า
2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ
เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น
ทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
ประเภทของทรัพย์สิน
1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้
นิติกรรม
นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
หลักการทำนิติกรรม
1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ
3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย
นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
1. นิติกรรมที่เป็น โมฆะ คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย
2. นิติกรรมที่เป็น โมฆียะ คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้วโมฆียกรรมจะกลายเป็นโมฆะ
สัญญาต่าง ๆ
ประเภทของสัญญา
สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว
สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน
2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4ฝ่าย คือ
- ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
- ผู้ทอดตลาด
- ผู้สู้ราคา
- ผู้ซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
1. สัญญาเช่าทรัพย์
- ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ
- ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
2. สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย
สัญญากู้ยืมเงิน
เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ
กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต
ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น
1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส
2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส
การสิ้นสุดการสมรส
1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม
3. การหย่า
- สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร
- สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน
กฎหมายเรื่องมรดก
มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท
1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท
2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้
พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์
กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
-สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
-เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
-หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
- เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
- เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
- เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
- บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องขอมีบัตรประชาชน
- การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น
- บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70ปี ขึ้นไป
5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
- ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
- เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด
*บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
- พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
- พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
- พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522
กฎหมายทะเบียนราษฎร
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร
1. ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้านเมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
กรณีตัวอย่าง การพัฒนาด้านการศึกษา จากการที่รู้ข้อมูลว่าจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นมีความหนาแน่นเพียงไร มีอัตราการเพิ่มอย่างไร ก็สามารถเป็นข้อมูลของรัฐบาลที่จะให้งบประมาณในด้านการสร้างโรงเรียน หรือในด้านการคมนาคม การที่จะให้มีการพัฒนาด้านการสร้างถนนหนทางไปในท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของบ้านเรือน เหล่านี้เป็นต้น หรือในด้านสาธารณสุขในเรื่องของการป้องกันโรคระบาด เมื่อในท้องที่ใดมีการแจ้งตายด้วยโรคระบาดก็สามารถเร่งให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดให้แก่คนในท้องถิ่นนั้นได้โดยรวดเร็วเพื่อป้องกันโรคระบาด เป็นต้น
2. คนเกิด
2.1 การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดดังต่อไปนี้
1) คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิดในกรณีคนเกิดในโรงพยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะบริการไปแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ที่คนเกิด โดยปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร บางแห่งจะมีสำนักงานทะเบียนท้องที่นั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านบริการรับแจ้งเกิด
2) คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน30 วันนับแต่วันเกิด ถ้าบิดามารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อบุตรนั้น ให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แจ้งชื่อคนเกิดต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจัดการเปลี่ยนชื่อให้ โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท
3) ผู้ที่พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำเด็กนั้นไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว
2.1 สถานที่แจ้งเกิด
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขตการแจ้งเกิดในกรณีคนเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ การไปแจ้งเกิดกรณีคนเกิดในบ้าน ผู้แจ้งต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วยทุกครั้ง เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานสูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก เพราะเป็นเอกสารที่แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาสตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่
3. คนตาย
3.1 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายให้แจ้งตายดังต่อไปนี้
1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
2) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ ถ้าในท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ การแจ้งตายกรณีคนตายในบ้าน เจ้าบ้านจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ โดยผู้แจ้งจะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย
3.2 สถานที่แจ้งตาย
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขต การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน เป็นหน้าที่เจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้อื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ถ้าจะมอบให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน และผู้นั้นมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เมื่อไปแจ้งต้องต้องนำสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านไปด้วย และเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจะมอบมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานมรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
4. การย้ายที่อยู่
การย้ายที่อยู่จะต้องมีการแจ้งการย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วจะต้องแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งผู้นั้นย้ายไปอยู่ การแจ้งย้ายที่อยู่ให้ดำเนินการต่อไปนี้
4.1 การย้ายออก เมื่อมีบุคคลใดบ้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน หรือผู้แทนที่จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ดังกล่าวต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งภายในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4.2 การย้ายเข้า เมื่อบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านใดบ้านหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านที่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งย้ายผู้ใดเข้ามาอยู่ในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานการย้ายออกของผู้นั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งด้วย
5. การขอแก้ทะเบียนราษฎร
ในกรณีที่ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรของบุคคลไม่ตรงกับหลักฐานที่มีอยู่ ให้ไปติดต่ออำเภอหรือเทศบาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ในการติดต่อทางราชการ เพื่อการนี้ควรนำหลักฐานเอกสารของทางราชการที่มีอยู่ไปแสดง เช่น
1.สูติบัตร มรณบัตร
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.ใบสำคัญทางทหาร
4.เอกสารการสมรา การหย่า
5.สำเนาทะเบียนบ้าน
6.ใบสุทธิ
7.หลักฐานเกี่ยวกับสัญชาติ
8.หนังสือเดินทางมาหรือไปต่างประเทศ
9.หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี
สรุปสาระสำคัญ
1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิด
2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด
1. จุดมุ่งหมายและหลักการ
เนื่องจากมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะส่วนพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้น การศึกษาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้คนในชาติมีความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป รัฐจึงต้องลงทุนด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติขึ้นมาทดแทนผู้ใหญ่ที่จะอ่อนกำลังลงในอนาคต ประเทศชาติจึงต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมุ่งเน้นให้คนในสังคมมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ
2. หน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้รัฐจะต้องดำเนินการทางด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน ดังนี้
1) รัฐต้องจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยให้เด็กและเยาวชนในชาติมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
2) รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมต้องจัดให้มีการสื่อสารและการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ บุคคลที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ บุคคลที่ไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส
3. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานจนอายุสิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว
4. รูปแบบการจัดการศึกษา
1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัด และการประเมินผลอันเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ได้แก่ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆทั้งของรัฐและเอกชน
2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิีธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและปรเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยอาศัยจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่าง ๆ การอบรมวิชาชีพในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การอบรมภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
5. แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดการศึกษาทุกรูปแบบจะเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ แบะพัฒนาตนเองได้ โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ด้วยเหตุนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
เนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่มีการปรับปรุง
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล
บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนประกอบของสภาพบุคคล
1. ชื่อตัว - ชื่อสกุล
2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ
3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล
4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า
2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ
เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น
ทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
ประเภทของทรัพย์สิน
1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้
นิติกรรม
นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
หลักการทำนิติกรรม
1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ
3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย
นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
1. นิติกรรมที่เป็น โมฆะ คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย
2. นิติกรรมที่เป็น โมฆียะ คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น
นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้วโมฆียกรรมจะกลายเป็นโมฆะ
สัญญาต่าง ๆ
ประเภทของสัญญา
สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว
สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน
2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4ฝ่าย คือ
- ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
- ผู้ทอดตลาด
- ผู้สู้ราคา
- ผู้ซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
1. สัญญาเช่าทรัพย์
- ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ
- ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
2. สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย
สัญญากู้ยืมเงิน
เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ
กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว
การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต
ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น
1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส
2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส
การสิ้นสุดการสมรส
1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม
3. การหย่า
- สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร
- สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน
กฎหมายเรื่องมรดก
มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท
1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท
2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้
พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์
กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
-สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
-เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
-หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
- เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
- เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
- เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
- บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 70 ปี ต้องขอมีบัตรประชาชน
- การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น
- บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70ปี ขึ้นไป
5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
- ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
- เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด
*บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
- พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
- พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
- พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522
กฎหมายทะเบียนราษฎร
กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดระเบียบปฏิบัติในการแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน โดยได้กำหนดไว้ว่าเมื่อมีคนเกิดในบ้านเจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในเวลา15 วันนับแต่วันเกิด เมื่อมีคนตายเจ้าบ้าจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย เมื่อบุคคลย้ายออกจากบ้านหรือย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 15 วัน
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร
1. ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้านเมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
กรณีตัวอย่าง การพัฒนาด้านการศึกษา จากการที่รู้ข้อมูลว่าจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นมีความหนาแน่นเพียงไร มีอัตราการเพิ่มอย่างไร ก็สามารถเป็นข้อมูลของรัฐบาลที่จะให้งบประมาณในด้านการสร้างโรงเรียน หรือในด้านการคมนาคม การที่จะให้มีการพัฒนาด้านการสร้างถนนหนทางไปในท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของบ้านเรือน เหล่านี้เป็นต้น หรือในด้านสาธารณสุขในเรื่องของการป้องกันโรคระบาด เมื่อในท้องที่ใดมีการแจ้งตายด้วยโรคระบาดก็สามารถเร่งให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดให้แก่คนในท้องถิ่นนั้นได้โดยรวดเร็วเพื่อป้องกันโรคระบาด เป็นต้น
2. คนเกิด
2.1 การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดดังต่อไปนี้
1) คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิดในกรณีคนเกิดในโรงพยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะบริการไปแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ที่คนเกิด โดยปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร บางแห่งจะมีสำนักงานทะเบียนท้องที่นั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านบริการรับแจ้งเกิด
2) คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน30 วันนับแต่วันเกิด ถ้าบิดามารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อบุตรนั้น ให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แจ้งชื่อคนเกิดต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจัดการเปลี่ยนชื่อให้ โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท
3) ผู้ที่พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำเด็กนั้นไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว
2.1 สถานที่แจ้งเกิด
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขตการแจ้งเกิดในกรณีคนเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ การไปแจ้งเกิดกรณีคนเกิดในบ้าน ผู้แจ้งต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วยทุกครั้ง เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานสูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก เพราะเป็นเอกสารที่แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาสตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่
3. คนตาย
3.1 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายให้แจ้งตายดังต่อไปนี้
1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
2) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ ถ้าในท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ การแจ้งตายกรณีคนตายในบ้าน เจ้าบ้านจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ โดยผู้แจ้งจะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย
3.2 สถานที่แจ้งตาย
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขต การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน เป็นหน้าที่เจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้อื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ถ้าจะมอบให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน และผู้นั้นมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เมื่อไปแจ้งต้องต้องนำสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านไปด้วย และเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจะมอบมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานมรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
4. การย้ายที่อยู่
การย้ายที่อยู่จะต้องมีการแจ้งการย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วจะต้องแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งผู้นั้นย้ายไปอยู่ การแจ้งย้ายที่อยู่ให้ดำเนินการต่อไปนี้
4.1 การย้ายออก เมื่อมีบุคคลใดบ้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน หรือผู้แทนที่จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ดังกล่าวต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งภายในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4.2 การย้ายเข้า เมื่อบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านใดบ้านหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านที่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งย้ายผู้ใดเข้ามาอยู่ในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานการย้ายออกของผู้นั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งด้วย
5. การขอแก้ทะเบียนราษฎร
ในกรณีที่ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรของบุคคลไม่ตรงกับหลักฐานที่มีอยู่ ให้ไปติดต่ออำเภอหรือเทศบาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ในการติดต่อทางราชการ เพื่อการนี้ควรนำหลักฐานเอกสารของทางราชการที่มีอยู่ไปแสดง เช่น
1.สูติบัตร มรณบัตร
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.ใบสำคัญทางทหาร
4.เอกสารการสมรา การหย่า
5.สำเนาทะเบียนบ้าน
6.ใบสุทธิ
7.หลักฐานเกี่ยวกับสัญชาติ
8.หนังสือเดินทางมาหรือไปต่างประเทศ
9.หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี
สรุปสาระสำคัญ
1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิด
2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด
(พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ และกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ. ฯพ.ศ.๒๔๙๘) ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะชายที่มีสัญชาติไทย ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยกันทุกคน แต่มีจำนวนมากยังไม่เข้าใจ เกี่ยวกับหน้าที่การรับราชการทหารในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การขึ้นทะเบียนทหาร การรับหมายเกณฑ์ การเก็ณฑ์ทหาร รวมไปถึงการขอยกเว้น และการขอผ่อนผันในการเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ซึ่งก่อให้เกิดความสับสน
ไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติตามหน้าที่ที่ถูกต้อง หรือได้รับคำชี้นำในการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จนกระทั่งต้องถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ในข้อหาหลีกเลี่ยง
ขัดขื่นไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) ไม่ไปรับหมายเรียก(หมายเกณฑ์) , หรือไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) และ อื่น ๆ เป็นเหตุให้ต้องเสียทั้งเวลาและทรัพย์สินในการต่อสู้คดี ดังนั้นเพื่อให้ชาวไทย ซึ่งเป็นทั้งนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงหน้าที่และการปฏิบัติ เกี่ยวกับการรับราชการทหารได้ถูกต้องกองการสัสดี กรมเสมียนตรา จึงได้ทำคู่มือฉบับนี้ขึ้น เพื่อชี้แจงเน้นย้ำ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับราชการทหาร เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง และมีจิตสำนึกที่ดี พร้อมที่จะอุทิศแรงกายแรงใจเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อรับใช้ประเทศชาติ
ด้วยความเต็มใจสมกับเป็นชายชาติทหารอย่างแท้จริง หวังว่าคู่มือสำหรับประชาชนเรื่องความรู้เกี่ยวกับ การรับราชการทหารฉบับนี้ คงเป็นประโยชน์
แก่ท่านตามสมควร
ไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติตามหน้าที่ที่ถูกต้อง หรือได้รับคำชี้นำในการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จนกระทั่งต้องถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ในข้อหาหลีกเลี่ยง
ขัดขื่นไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) ไม่ไปรับหมายเรียก(หมายเกณฑ์) , หรือไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) และ อื่น ๆ เป็นเหตุให้ต้องเสียทั้งเวลาและทรัพย์สินในการต่อสู้คดี ดังนั้นเพื่อให้ชาวไทย ซึ่งเป็นทั้งนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงหน้าที่และการปฏิบัติ เกี่ยวกับการรับราชการทหารได้ถูกต้องกองการสัสดี กรมเสมียนตรา จึงได้ทำคู่มือฉบับนี้ขึ้น เพื่อชี้แจงเน้นย้ำ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับราชการทหาร เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง และมีจิตสำนึกที่ดี พร้อมที่จะอุทิศแรงกายแรงใจเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อรับใช้ประเทศชาติ
ด้วยความเต็มใจสมกับเป็นชายชาติทหารอย่างแท้จริง หวังว่าคู่มือสำหรับประชาชนเรื่องความรู้เกี่ยวกับ การรับราชการทหารฉบับนี้ คงเป็นประโยชน์
แก่ท่านตามสมควร
ทหารเป็นหน้าที่ของชายไทย
ประเทศตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศเป็นต้นมา กำหนดให้ชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหารและรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรพุทธศักราช ๒๕๔๐ ฉบันที่ใช้ในปัจจุบันยังกำหนดไว้ในหมวดที่ ๔ หน้าที่ของชายไทย มาตรา ๖๙ ซึ่งมีความว่า " บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษา อบรม ...ฯลฯ.. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ " กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ พระราช
บัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "ชายที่มีสัญชาติ เป็นไทย "และการได้มีสัญญาติไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทยตาม
กฎหมายมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน พ.ศ.๒๕๐๘
ดังนั้นหน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหาร พูดง่าย ๆ ว่า "ต้องไปเกณฑ์ทหาร" ซึ่งการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารเป็นเรื่อง ที่มีเกียรติมี
ศักดิ์ศรี เพราะกองทัพไทยจะฝึกฝนผู้เข้ารับราชการหารให้มีระเบียบ วินัย ฝึกหัดวิชาชีพเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ อัน เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมาก
แก่ทหารเกณฑ์ทุกคน ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ปีละครั้ง และต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน ๒ ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน(ร.ต.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
และกฎกระทรวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป
๑.หน้าที่ของชายไทยที่จะต้องเกี่ยวกับการรับราชการทหารมีดังนี้
๑.๑ การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร) ชายไทยเมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ให้ไปแสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนทหารภายใน
ปี พ.ศ.นั้น
๑.๒ การรับหมายเรียก(การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปี บริบูรณ์ ) ใน พ.ศ. ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมาย
เรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น
๑.๓ การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร)ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
ไว้ในหมายเรียก
๑.๔ การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน
เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหาร ให้มี
ความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.บุคคลที่จะได้สัญชาติไทย จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๒.๑ เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
๒.๒ เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ
๒.๓ เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว)
๒.๔ ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
๒.๕ บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า
๑๘ ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด
๓.การนับอายุ คนเกิดในวันใดเดือนใดก็ตามปีเดียวกัน เมื่อสิ้นปีนั้น อายุจะเท่ากันหมด คือ ๑ ปีบริบูรณ์และนับเป็นอายุย่าง ๒ ปีด้วย เช่น คนเกิดวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๐ กับคนเกิดวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๐ เมื่อสิ้นปี ๒๕๔๐ และในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๑ ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุย่าง ๒ ปี เท่ากัน เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๑ และเมื่อสิ้นปี ๒๕๔๑ แล้ว ในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๒ ให้นับอายุครบ ๒ ปีบริบูรณ์และจะมีอายุย่าง ๓ ปี ด้วยให้นับเช่นนี้ไป
เรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ การจะทราบว่าอายุปัจจุบันเท่าใด้ให้เอา พ.ศ.ปัจจุบันตั้งลบด้วย พ.ศ.เกิด เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๔ จะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า ๑๘ ปี ตลอดปี ๒๕๔๑ คือ อายุครบและอายุย่าง ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๔๑ - วันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๑
ราชอาณาจักรพุทธศักราช ๒๕๔๐ ฉบันที่ใช้ในปัจจุบันยังกำหนดไว้ในหมวดที่ ๔ หน้าที่ของชายไทย มาตรา ๖๙ ซึ่งมีความว่า " บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษา อบรม ...ฯลฯ.. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ " กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ พระราช
บัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "ชายที่มีสัญชาติ เป็นไทย "และการได้มีสัญญาติไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทยตาม
กฎหมายมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน พ.ศ.๒๕๐๘
ดังนั้นหน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหาร พูดง่าย ๆ ว่า "ต้องไปเกณฑ์ทหาร" ซึ่งการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารเป็นเรื่อง ที่มีเกียรติมี
ศักดิ์ศรี เพราะกองทัพไทยจะฝึกฝนผู้เข้ารับราชการหารให้มีระเบียบ วินัย ฝึกหัดวิชาชีพเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ อัน เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมาก
แก่ทหารเกณฑ์ทุกคน ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ปีละครั้ง และต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน ๒ ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน(ร.ต.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร
และกฎกระทรวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป
๑.หน้าที่ของชายไทยที่จะต้องเกี่ยวกับการรับราชการทหารมีดังนี้
๑.๑ การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร) ชายไทยเมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ให้ไปแสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนทหารภายใน
ปี พ.ศ.นั้น
๑.๒ การรับหมายเรียก(การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปี บริบูรณ์ ) ใน พ.ศ. ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมาย
เรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น
๑.๓ การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร)ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
ไว้ในหมายเรียก
๑.๔ การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน
เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหาร ให้มี
ความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.บุคคลที่จะได้สัญชาติไทย จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
๒.๑ เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย
๒.๒ เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ
๒.๓ เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว)
๒.๔ ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
๒.๕ บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า
๑๘ ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด
๓.การนับอายุ คนเกิดในวันใดเดือนใดก็ตามปีเดียวกัน เมื่อสิ้นปีนั้น อายุจะเท่ากันหมด คือ ๑ ปีบริบูรณ์และนับเป็นอายุย่าง ๒ ปีด้วย เช่น คนเกิดวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๐ กับคนเกิดวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๐ เมื่อสิ้นปี ๒๕๔๐ และในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๑ ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุย่าง ๒ ปี เท่ากัน เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๑ และเมื่อสิ้นปี ๒๕๔๑ แล้ว ในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๒ ให้นับอายุครบ ๒ ปีบริบูรณ์และจะมีอายุย่าง ๓ ปี ด้วยให้นับเช่นนี้ไป
เรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ การจะทราบว่าอายุปัจจุบันเท่าใด้ให้เอา พ.ศ.ปัจจุบันตั้งลบด้วย พ.ศ.เกิด เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๔ จะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า ๑๘ ปี ตลอดปี ๒๕๔๑ คือ อายุครบและอายุย่าง ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๔๑ - วันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๑
การลงบัญชีทหารกองเกิน
ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน(ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) ณ อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของเตน ภายใน พ.ศ.นั้น(ตั้งแต่ ๑ ม.ค.- ๓๑ ธ.ค.) เช่น เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ต้องไปขึ้นทะเบียนทหารในพ.ศ.๒๕๔๑ ผู้ใด
ไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินด้วยตนเองได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน(ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าไม่ไปแจ้งแทนในปีนั้นถือ
ว่าหลี่กเลี่ยงขัดขืนทางอำเภอแจ้งความดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจ
เปรียบเทียบปรับไม่ได้ ต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล) เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่ วันที่ ๑ ม.ค. ของปีถัดไป
๑. การลงบัญชีทหารให้ปฏิบัติ ดังนี้
กรณีบิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาเป็นหลักในการลงบัญชีทหารถ้าบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มารดายังมีชีวิตอยู่หรือถ้าทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรมแล้ว มีผู้ปกครองให้ถือลำเนาในการลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี หรือถ้าบุคคลดังกล่าวถึงแก่กรรมหมดให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่ผู้ขอลงบัญชีทหารมีภูมิลำเนาอยู่ (ภูมิลำเนาคือการที่มีรายชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนบ้าน)
การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ผู้ขอยื่นใบแสดงตน เพื่อขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ต้องนำหลักฐานคือสูติบัตรหรือบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
(ที่มีชื่อบิดา หรือมารดา) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐาน เอกสารเห็นว่าถูกต้องแล้วจะรับลงบัญชีทหารและออกใบสำคัญทหารกองเกิน(แบบ สด.๙)ให้เป็นหลักฐาน
ตัวอย่าง เช่น นาย ก. เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ให้ถือว่าอายุครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์ และอายุย่าง ๑๘ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย นาย ข. และ นาง ค. (นาย ข. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นาง ค. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่กับน้า) กรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำทะเบียนของตนพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงขอลงบัญชีทหารที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดากับต้องนำทะเบียน
บ้านของบิดาและมารดาไปแสดงด้วย เมื่อลงบัญชีทหารแล้วถือว่า นาย ก. มีภูมิลำเนาทหารอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ถ้านาย ข. เสียชีวิต นาย ก. จะต้องนำทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของตนกับมรณบัตรของนาย ข. และทะเบียนของ นาง ค. ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ถ้า นาย ข. และ นาง ค. หย่าขาดจากกัน นาย ก. อยู่กับมารดาที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรืออยู่กับน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็ตาม กรณีนี้ นาย ก. จะต้องไปลงบัญชี ณ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดา ถ้าไม่สะดวกที่จะไปลงบัญชีทหารด้วยตนเอง จะให้บิดาแจ้งการลงบัญชี
ทหารแทนก็ได้ต้องใกล้กระชั้นวันหมดเขตการลงบัญชีทหาร โดยส่งสำเนาทะเบียนบ้านของตน และของมารดา อีกทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของตน
พร้อมกับแจ้งตำหนิ แผลเป็นเหนือเอวขึ้นไปที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน ซึ่งต่อไปจะไม่สูญหาย เช่น "แผลเป็นที่แก้มขวา" เพื่อให้บิดาดำเนินการแจ้งลงบัญชี
ทหารแทน เสร็จแล้วบิดาจะส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมกับใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้แก่ นาย ก. ไว้เป็นหลักฐานต่อมาถ้า นาย ก. ประสงค์จะตรวจเลือก
ทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็กระทำได้
ไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินด้วยตนเองได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน(ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าไม่ไปแจ้งแทนในปีนั้นถือ
ว่าหลี่กเลี่ยงขัดขืนทางอำเภอแจ้งความดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจ
เปรียบเทียบปรับไม่ได้ ต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล) เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่ วันที่ ๑ ม.ค. ของปีถัดไป
๑. การลงบัญชีทหารให้ปฏิบัติ ดังนี้
กรณีบิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาเป็นหลักในการลงบัญชีทหารถ้าบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มารดายังมีชีวิตอยู่หรือถ้าทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรมแล้ว มีผู้ปกครองให้ถือลำเนาในการลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี หรือถ้าบุคคลดังกล่าวถึงแก่กรรมหมดให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่ผู้ขอลงบัญชีทหารมีภูมิลำเนาอยู่ (ภูมิลำเนาคือการที่มีรายชื่อปรากฎอยู่ในทะเบียนบ้าน)
การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ผู้ขอยื่นใบแสดงตน เพื่อขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ต้องนำหลักฐานคือสูติบัตรหรือบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
(ที่มีชื่อบิดา หรือมารดา) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐาน เอกสารเห็นว่าถูกต้องแล้วจะรับลงบัญชีทหารและออกใบสำคัญทหารกองเกิน(แบบ สด.๙)ให้เป็นหลักฐาน
ตัวอย่าง เช่น นาย ก. เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ให้ถือว่าอายุครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์ และอายุย่าง ๑๘ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย นาย ข. และ นาง ค. (นาย ข. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นาง ค. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่กับน้า) กรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำทะเบียนของตนพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงขอลงบัญชีทหารที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดากับต้องนำทะเบียน
บ้านของบิดาและมารดาไปแสดงด้วย เมื่อลงบัญชีทหารแล้วถือว่า นาย ก. มีภูมิลำเนาทหารอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ถ้านาย ข. เสียชีวิต นาย ก. จะต้องนำทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของตนกับมรณบัตรของนาย ข. และทะเบียนของ นาง ค. ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ถ้า นาย ข. และ นาง ค. หย่าขาดจากกัน นาย ก. อยู่กับมารดาที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรืออยู่กับน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็ตาม กรณีนี้ นาย ก. จะต้องไปลงบัญชี ณ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดา ถ้าไม่สะดวกที่จะไปลงบัญชีทหารด้วยตนเอง จะให้บิดาแจ้งการลงบัญชี
ทหารแทนก็ได้ต้องใกล้กระชั้นวันหมดเขตการลงบัญชีทหาร โดยส่งสำเนาทะเบียนบ้านของตน และของมารดา อีกทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของตน
พร้อมกับแจ้งตำหนิ แผลเป็นเหนือเอวขึ้นไปที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน ซึ่งต่อไปจะไม่สูญหาย เช่น "แผลเป็นที่แก้มขวา" เพื่อให้บิดาดำเนินการแจ้งลงบัญชี
ทหารแทน เสร็จแล้วบิดาจะส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมกับใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้แก่ นาย ก. ไว้เป็นหลักฐานต่อมาถ้า นาย ก. ประสงค์จะตรวจเลือก
ทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานครก็กระทำได้
กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีสาระสำคัญที่ควรรู้และทำความเข้าใจ ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายและหลักการ
เนื่องจากมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะส่วนพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้น การศึกษาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้คนในชาติมีความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป รัฐจึงต้องลงทุนด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติขึ้นมาทดแทนผู้ใหญ่ที่จะอ่อนกำลังลงในอนาคต ประเทศชาติจึงต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมุ่งเน้นให้คนในสังคมมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ
2. หน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้รัฐจะต้องดำเนินการทางด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน ดังนี้
1) รัฐต้องจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยให้เด็กและเยาวชนในชาติมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
2) รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมต้องจัดให้มีการสื่อสารและการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ บุคคลที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ บุคคลที่ไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส
3. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานจนอายุสิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจนให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว
4. รูปแบบการจัดการศึกษา
1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัด และการประเมินผลอันเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ได้แก่ การเรียนการสอนในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆทั้งของรัฐและเอกชน
2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิีธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและปรเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยอาศัยจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่าง ๆ การอบรมวิชาชีพในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การอบรมภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
5. แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดการศึกษาทุกรูปแบบจะเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ แบะพัฒนาตนเองได้ โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ด้วยเหตุนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
กฎหมายพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ถูกบัญญัติขึ้นหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550 ภายใต้สถานการณ์ที่จะต้องนำพาประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งต่อไป และเพื่อแก้ไขปัญหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นระบบการดำเนินการทางการเมืองที่ขาดความโปร่งใส ไม่มีคุณธรรม และจริยธรรม ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ล้มเหลว และการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่[1]ดังนั้นเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 บางส่วนอาจคงสภาพเดิมของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และเนื้อหาบางส่วนก็เป็นไปเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน อาทิ
เนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่มีการปรับปรุง
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะสมาชิกพรรคการเมือง หรือ กรรมการบริหารพรรค หากเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ขัดต่อสถานะการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีสิทธิขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้มติหรือข้อบังคับนั้นถูกยกเลิกไปได้ (มาตรา 65) เพื่อลดความเข้มแข็งของหัวหน้าพรรคการเมือง
2. ห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาในระหว่างอายุของสภา เพื่อป้องกันการเกิดเสียงข้างมากอย่างผิดปกติในสภา (มาตรา 104)
3. ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ต่ำกว่า 90 วัน ยกเว้นการยุบสภาต้องสังกัดไม่ได้ต่ำกว่า 30 วัน (มาตรา101)
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบพรรคการเมืองนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550) มีการกล่าวถึงใน 2 หมวดใหญ่ด้วยกัน อันได้แก่ (1) หมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 47 และ (2) ในบทเฉพาะกาลมาตรา 328 ซึ่งส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายประการ ดังนี้
1. มาตรา 65 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 11 เสรีภาพในการชุมนุมและสมาคม ได้มีการกำหนดให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง
2. มาตรา 138 หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 6 การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้มีการบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรมนูญ จำนวน 9 ฉบับซึ่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ก็นับเป็นกฎหมายในนั้น โดยในบทเฉพาะกาลมาตรา 295 ได้ระบุว่า ให้สภาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
ดังนั้น จึงส่งผลให้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ว่า ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดหรือผู้มีสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ โดยมีจำนวนตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปอาจรวมกันดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ (มาตรา 8) และต้องมีสมาชิกห้าพันคนขึ้นไปภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และกระจายตามภาคและจังหวัดตามที่นายทะเบียนกำหนด และต้องมีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขาภายใน 1 ปี (มาตรา 26)
ดังนั้น จึงส่งผลให้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ว่า ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดหรือผู้มีสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ โดยมีจำนวนตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปอาจรวมกันดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ (มาตรา 8) และต้องมีสมาชิกห้าพันคนขึ้นไปภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และกระจายตามภาคและจังหวัดตามที่นายทะเบียนกำหนด และต้องมีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขาภายใน 1 ปี (มาตรา 26)
นอกจากนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ยังระบุรายละเอียด
1) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดองค์กรภายของพรรคการเมืองดังต่อไปนี้
- คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย นโยบายพรรคการเมือง ข้อบังคับพรรคการเมืองและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและซื่อสัตย์ สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน และต้องส่งเสริมความเป็นประขาธิปไตยในพรรคการเมือง (มาตรา17)
- คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองโฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา11)
2) การรวมและการยุบพรรคการเมือง
เจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 ที่มีเนื้อหาให้พรรคการเมืองใหญ่มีความเข้มแข็งโดยการส่งเสริมให้ควบรวมและยุบพรรคการเมืองขนาดเล็ก ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2550 จึงวางหลักเกณฑ์เงื่อนไขส่งเสริมให้พรรคการเมืองยุบพรรคหรือรวมพรรคให้ยากกว่าเดิม เพื่อป้องกันเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรที่เกินจริงอันเนื่องมาจากการที่พรรคการเมืองใหญ่ได้ควบรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก และส่งเสริมให้พรรคการเมืองขนาดเล็กดำรงอยู่ได้ในฐานะที่เป็นตัวแทนทางอุดมการณ์ทางการเมืองหนึ่งของประชาชนที่มีฐานหลากหลายความคิดการเมืองเช่นเดียวกับพรรคการเมืองขนาดใหญ่
ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2550 จึงข้อบัญญัติว่า “ในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร จะมีการควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิได้” (หมวด 5 การควบรวมพรรคการเมือง มาตรา 99) และการรวมพรรคการเมืองอาจกระทำได้ 2 วิธีคือ (1) การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ และ (2) การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก (มาตรา 100)
2.1 การรวมพรรคการเมือง
2.1 การรวมพรรคการเมือง
2.1.1 การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ (มาตรา 101) กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ คือ ให้ที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคมีมติเห็นชอบ โดยให้หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกัน เพื่อกระทำการเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ว่าต้องกำหนดนโยบายพรรคการเมือง และกำหนดข้อบังคับพรรคการเมือง และให้นายทะเบยนประกาศคำสั่งการเลือกและการควบรวมพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษา
2.1.2 การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก (มาตรา 103) กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ คือ ให้แต่ละพรรคขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคการเมือง และให้หัวหน้าพรรคทุกพรรคที่ต้องการจะควบรวมกันแจ้งต่อทนายทะเบียน เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเลิกพรรคการเมืองที่รวมกับพรรคหลักนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง
2.2 การเลิกและการยุบพรรคการเมือง
2.1.2 การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก (มาตรา 103) กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ คือ ให้แต่ละพรรคขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคการเมือง และให้หัวหน้าพรรคทุกพรรคที่ต้องการจะควบรวมกันแจ้งต่อทนายทะเบียน เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเลิกพรรคการเมืองที่รวมกับพรรคหลักนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง
2.2 การเลิกและการยุบพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2550 ได้กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองสิ้นสภาพด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (มาตรา 91)
1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
2) ไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกัน หรือเป็นเวลา 8 ปี ติดต่อกัน
3) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 5,000 คน ภายในระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี
4) ไม่มีการเรียกประชุมใหญ่พรรคการเมือง หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี
5) มีการควบรวมกับพรรคการเมืองอื่น
6) มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง
7) ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย อาทิ องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองไม่ครบ หรือไม่สามารถหาสมาชิกได้อย่างน้อย 5,000 คน สาขาพรรคอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง (ตามมาตรา 26)
3) ระบบเงินสนับสนุนพรรคการเมือง
ระบบเงินอุดหนุนพรรคการเมืองโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing)และ ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ (Public Financing)
3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) หมายถึง การได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการเมืองซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ การบริจาคเงินเพื่อให้พรรคการเมืองนำไปดำเนินการตามนโยบายของพรรคการเมืองนั้นต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 72) ดังนี้
(1) จำต้องทำการบริจาคในนามพรรคการเมืองห้ามบริจาคสมาชิกพรรคเป็นการส่วนตัว (มาตรา 56) และการบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ให้กระทำโดยเปิดเผยชื่อผู้บริจาคและสามารตรวจสอบได้ (มาตรา 56) และการบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และหากบริอจาคเป็นตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปต้องสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อม (มาตรา 57)นอกจากนั้นกฎหมายยังห้ามให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลบริจาคให้แก่พรรคกาเรมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเกินกว่า 10 ล้านบาทต่อปี และหากนิติบุคลใดบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องได้รับอนุมัติหรือสัตยาบันโดยมติที่ประชุมหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นหรือสนมาชิกของนิติบุคคลนั้น (มาตรา 59)
(2) ห้ามมิให้พรรคการเมืองรับบริจาคเงิน หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวสนเป็นเงินได้ โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 65)
(3) ห้ามมิให้พรรคการเมืองรับบริจาคจากผู้กระทำหรือสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือกระทำการอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการอันเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ (มาตรา 66)
(4) ห้ามมิให้พรรคการเมืองรับบริจาคจาก (มาตรา 69)
(4.1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(4.2) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักร
(4.3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การพิจารณาตามอนุมาตรานี้ ให้พิจารณาในวันกาอนวันที่บริจาคโดยให้ถือทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือซึ่งมัผู้จัดการหรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(4.4) องค์การหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือซึ่งมีผู้จัดการหรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(4.5) บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลที่ได้รับบริจาค เพื่อดำนินกิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
(4.6) บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
3.2 ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2550ส่วนที่ 4 การสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ มาตรา 73 ระบุให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายในการสนับสนุนพรรคการเมืองและการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยกองทุนประกอบก้วยเงินและทรัพย์สินดังต่อไปนื้
(1) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่าย
(2) เงินที่ได้รับมาจากกรมสรรพากรตามมาตรา 58
(3) เงินสนับสนุนสมทบจากรัฐตามมาตรา 76
(4) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทยราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
(5) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษทางปกครองหรือทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(6) เงินหรือทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญํติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(7) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนตรามมาตรา 96
(8) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน
(9) เงินดอกผลของกองทุน
(10) เงินรายรับอื่น
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมิอง ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียน และพัฒนาพรรคการเมือง (มาตรา 74) โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่แทน ซึ่งประกอบด้วยนายทะเบียนเป็นประธาน กรรมการการเลือกตั้งซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายหนึ่งคน ผู้แทนกระทรวงการคลังหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงบประมาณหนึ่งคน ผู้แทนของพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน ผู้แทนพรรคการเมืองสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน (ผู้แทนของพรรคการเมืองต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ผู้แทนพรรคการเมืองที่มิได้มีสมาชิกในสังกัดเป็นสมาชิกสภาผ็แทนราษฎรซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคนและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ (มาตรา 74)
การจัดสรรเงินให้แก่พรรคการเมือง (มาตรา 75) จะกระทำเป็นรายปีให้แก่พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกพรรคลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุด โดย
การจัดสรรเงินให้แก่พรรคการเมือง (มาตรา 75) จะกระทำเป็นรายปีให้แก่พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกพรรคลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุด โดย
(1) ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนรวมกัน
(2) หรือได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดห้าของคะแนนเสียงที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนได้รับในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งรวมกันทั้งประเทศ
ทั้งนี้พรรคการเมืองที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุนจะได้รับการจัดสรรเงินตาม
ทั้งนี้พรรคการเมืองที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุนจะได้รับการจัดสรรเงินตาม
(1) จำนวนคะแนนเสียง จากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนร้อยละ 20 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรร จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรร
(2) จำนวนสาขาพรรคการเมือง ได้ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรรร
(3) จำนวนสมาชิกพรรค ที่ชำระค่าบำรุงรายปี ได้ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรรร
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถจัดสรรเงินให้พรรคการเมืองใดพรรคเมืองหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของวงเงินทั้งหมดที่จัดสรรไม่ได้
นอกจากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจในการลดหรือเลิกการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองได้ ดังนี้ (มาตรา 78)
(1) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกิน 2ครั้งติดต่อกัน ให้ลดเงินสนับสนุนพรรคลงกึ่งหนึ่งจากที่คำนวนได้
(2) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกิน 3ครั้งติดต่อกัน ให้ลดเงินสนับสนุนพรรคลง 3 ใน 4 จากที่คำนวนได้
(3) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกิน 4ครั้งติดต่อกัน และ/หรือพรรคการเมืองที่ไม่ได้ส่งสมาชิกลงเลือกตั้งทั่วไป ให้เลิกให้เงินสนับสนุนพรรค
อีกทั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดให้พรรคการเมืองได้รับการสนับสนุนในเรื่อง ค่าไปรษณียากร ค่าโทรศัพท์ หรือค่าโทรคมนาคมอื่น การจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ของพรรคการเมือง ค่าเช่าสำนักงานพรรคการเมือง หรือสาขาพรรคการเมือง ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่าสถานที่จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง หรือจัดประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองหรือเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น (มาตรา 81)
(1) ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนรวมกัน
(2) หรือได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดห้าของคะแนนเสียงที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนได้รับในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งรวมกันทั้งประเทศ
(3) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกิน 3ครั้งติดต่อกัน ให้ลดเงินสนับสนุนพรรคลง 3 ใน 4 จากที่คำนวนได้
(4) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกิน 4ครั้งติดต่อกัน และ/หรือพรรคการเมืองที่ไม่ได้ส่งสมาชิกลงเลือกตั้งทั่วไป ให้เลิกให้เงินสนับสนุนพรรค
กฎหมายการเลือดตั้ง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550”
มาตรา 2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
“เลือกตั้ง” หมายความว่า เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
“หน่วยเลือกตั้ง” หมายความรวมถึง หน่วยออกเสียงประชามติ
“จังหวัด” หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 5 ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 - มาตรา 29
หมวด 2 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 30 - มาตรา 42
หมวด 3 บทกำหนดโทษ มาตรา 43 - มาตรา 45
บทเฉพาะกาล มาตรา 46 - มาตรา 49
กฎหมายอื่นๆ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 35 มาตรา 41 และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.
มาตรา 2 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
“เลือกตั้ง” หมายความว่า เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
“หน่วยเลือกตั้ง” หมายความรวมถึง หน่วยออกเสียงประชามติ
“จังหวัด” หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 5 ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 - มาตรา 29
หมวด 2 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 30 - มาตรา 42
หมวด 3 บทกำหนดโทษ มาตรา 43 - มาตรา 45
บทเฉพาะกาล มาตรา 46 - มาตรา 49
กฎหมายอื่นๆ
ที่มาจาก www.onec.go.th www.thaipoliticsgovernment.org/ |