วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรี

การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

[แก้] การปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่

สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

กรมเวียง หรือ นครบาล มีพระยายมราชทำหน้าที่ดูแล และ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
กรมวัง หรือ ธรรมาธิกรณ์ มีพระยาธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยในเขตพระราชฐาน
กรมคลัง หรือ โกษาธิบดี มีพระยาโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายสินค้า ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกด้วย
กรมนา หรือ เกษตราธิการ มีพระยาพลเทพ ทำหน้าที่ดูแลการเกษตรกรรม หรือ การประกอบอาชีพของปร
[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค
หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
เมืองประเทศราช คือเมืองที่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้กรุงธนบุรี ซึ่งในขณะนั้น จะมี นครศรีธรรมราช เชียงแสน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ปัตตานี ไทรบุรี ตรังกานู มะริด ตะนาวศรี พุทไธมาศ พนมเปญ จำปาศักดิ์ หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์ ฯลฯ


ที่มาจาก...www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2520.0;wap2
แบบทดสอบการปกครองกรุงศรีอยุธยา

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครอง สมัยกรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง มหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎ กรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศ อิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย การเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)

ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ คือ

1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ 2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ 3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว
ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การ ปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์"การ ปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้า ตามคติของฮินดูราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือ กำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"
ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ แบบ หนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากอินเดีย ส่วนไทยปกครองอย่างแบบไทยเดิม ส่วนทางใต้ปกครองตามแบบขอมเพราะขอมยังมีอำนาจอยู่ในเมือง ต่าง ๆ เช่น ละโว้และเมืองอื่น ทางใต้การปกครองของขอมและของไทยมีที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ ต่างก็มีพระมหากษัตริย์ด้วยกันทั้งสองแบบแต่ของขอมนั้น ถือลัทธิตามชาวอินเดีย คือสมมุติพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระอิศวรหรือพระนาราย์แบ่งภาคมา เลี้ยงโลกและอาศัยความเป็นเจ้าตำราการปกครองลักษณะการที่ขอมเข้าปกครองราษฎร จึงคล้ายกับนาย ปกครองบ่าว (Autocratic government) ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือพระจ้าแผ่นดินเป็นบิดาของ ประชาชน วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองของสกุลมาเป็นคติ และถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครอง ครัวเรือน
ต่อมาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงได้ปรับปรุงระบอบการปกครองใหม่ โดยมีพระมหากษัตริยเ์ป็นผู้ อำนวยการปกครองเรียกการปกครองแบบนี้ว่า การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นราชธานี และเมืองพระยามหานครตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าราชธานีมีวงเขตแคบลงทั้งนี้ก็ด้วยมีความประสงค์ ให้หัวเมืองชั้นในติดต่อกับราชธานีได้โดยสะดวก ส่วนหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นเมืองพระยามหานครนั้น อยู่ห่างไกลออกไปจากราชธานี เมื่อการคมนาคมยังไม่เจริญ ก็ย่อมติดต่อกับราชธานีได้โดยมากราชการ บริหารส่วนกลางไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด เมืองพระยามหานคร จึงเกือบไม่ขึ้นต่อราชการ บริหารส่วนกลางเลย เจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์และได้รับการมอบหมาย ให้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์ ทั้งในทางการปกครอง และในทางตุลาการ เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรง แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็มีอำนาจที่จะปกครองเมืองได้อย่างเต็มที่ เกือบไม่ต้องขึ้นหรือคอยรับคำสั่ง จากราชธานีด้วยเหตุนี้เมื่อพระมหากษัตริย์ใดทรงมีอานุภาพก็รักษาเอกภาพแห่งพระราชอาณาจักรไว้ได้ อย่างเรียบร้อย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์องค์ใดหย่อนอานุภาพลง เจ้าเมืองมักจะคิดตั้งตนเป็นอิสระทำให้ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรไม่มั่นคง เหตุดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากราชการส่วนกลาง และราชการปกครองส่วนภูมิภาคไม่มีความสัมพันธ์กันเพียงพอ
รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ โดยแยก การบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร สำหรับฝ่ายพลเรือนรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทาง ด้านเวียง วัง คลัง นา มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกิจการเกี่ยวกับทหารและการป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้าและกรมทหารราบ มีสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จึงมีความ สำคัญยิ่งต่ออนาคตของการจัดการปกครองประเทศการปกครองได้เป็นไปในทางเสริมสร้างสมบูรณาญา สิทธิราชเต็มที่ เพราะได้พวกพราหมณ์และพวกเจ้านาย ท้าวพระยามาจากกรุงกัมพูชา ซึ่งมีความชำนาญ ทางการปกครองอย่างถ้วนถี่ดีกว่าที่เคยรู้มาแต่ก่อนไว้ ดังนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์และ สถาบันแห่งพระองค์ ก็คงจะต้องเข้มงวดกวดขันยิ่งกว่าแต่กาลก่อน คือถือว่าเป็นสมมติเทวราชเต็มรูปแบบ สำหรับการปรับปรุงแก้ไขการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค อันเป็นผลของการปฏิรูปดังกล่าว นั้นก็คือได้มีการขยายเขตราชธานี และหัวเมืองชั้นในออกไปให้กว้างกว่าเดิม เพื่อที่จะได้รวมอำนาจการ ปกครองเข้าไว้ในส่วนกลางให้ราชการบริหารส่วนกลาง สามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้นและจัด หัวเมืองชั้นในอยู่ในวงของราชธานีเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ส่วนหัวเมืองชั้นในพระมหากษัตริย์ทรงอำนวย การปกครองโดยมีเสนาบดีเป็นผู้ช่วย ฉะนั้นผู้ปกครองหัวเมืองชั้นในหรือเมืองชั้นจัตวาจึงเรียกว่า "ผู้รั้ง" ไม่ใช่เจ้าเมืองและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชั่วเวลา 3 ปี ส่วนกรมการอันเป็นพนักงานปกครองก็ ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของเจ้ากระทรวงต่างๆ ในราชธานีนอกจากนั้นปรากฎตามกฎมนเทียรบาล และทำเนียบศักดินาหัวเมืองได้เลิกเมืองลูกหลวง 4 ด้านของราชธานีตามที่มีมาแต่ก่อน คงให้มีฐานะเป็น เพียงเมืองชั้นจัตวาอาณาเขตวงราชธานี ซึ่งได้ขยายออกไปภายหลังการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ ส่วนระเบียบ การปกครองเมืองภายนอก วงราชธานียังคงจัดเป็นเมืองพระยามหานครตามเดิม แต่แบ่งออกเป็นเมือง ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรีเมืองชนิดนี้ต่อมาเรียกว่ หัวเมืองชั้นนอกเพราะอยู่วงนอกราชธานีและอยู่ห่างไกล หรือเพราะอยู่หน้าด่านชายแดนแต่ละเมืองก็มีเมืองอยู่ในอาณาเขตทำนองเดียวกับวงราชธานีและบรรดา เมืองชั้นนอก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงศักดิ์เป็นผู้สำเร็จราชการ เมืองมีอำนาจบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดอย่างเป็นผู้ต่างพระองค์ทุกอย่างและมีกรมการพนักงานปกครองทุก แผนกอย่างเช่นในราชธานีหัวเมืองต่อนั้นออกไป ซึ่งเมืองชนต่างชาติต่างภาษาอยู่ชายแดนต่อประเทศอื่น ให้เป็นเมืองประเทศราชมีเจ้านายของชนชาตินั้นปกครองตามจารีตประเพณีของชนชาตินั้นๆ และเมือง นั้นต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการมีกำหนด 3 ปีครั้งหนึ่ง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ปลีกย่อยออกไปอีก ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบการปกครองภายในเมืองหนึ่งๆทั้งหัวเมืองชั้นนอกและชั้น ใน หรือเรียกว่า ระเบียบการปกครองท้องที่ โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล ตำบล แบ่งออกเป็นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวมของหลาย ๆ ครัวเรือนแต่มิได้กำหนดจำนวนคน หรือจำนวนบ้านไว้การ แบ่งเขตการปกครองตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีรูปร่างผิดแปลกไปกับการปกครองสมัย ปัจจุบันมาก นักกฏหมายปกครองท้องที่ตราขึ้น ในสมัยหลังได้ร่างขึ้นโดยอาศัยรูปการปกครอง ซึ่งมีอยู่ แต่เดิมเป็นหลักใหญ่และได้แก้ไขดัดแปลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น
การปกครองระบบเทวสิทธิ์นี้ ถ้าจะพิจารณาถึงผลสะท้อนที่เกิดกับการบริหารแล้ว จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยในสมัยนั้น เมื่อมีการสถาปนาประเทศเข้าสู่เสถียรภาพ ข้อเสียของระบบเทวสิทธิ์ก็ปรากฏขึ้น เช่นชนฝ่ายปกครองหรือกษัตริย์ถูกแยกห่างออกจากฝ่ายถูกปกครองคือประชาชนมากเกินไปจนกลายเป็น ชนชั้นหนึ่งอีกต่างหาก ซึ่งแตกต่างจากการปกครองระบบบิดาและบุตรมาก ประกอบกับชนชั้นปกครอง ระดับรองลงมา อันได้แก่ มูลนายต่าง ๆ ช่องทางการใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต เกิดการกดขี่ทารุณและ คดโกงขึ้น ตำแหน่งพระมหากษัตริย์กลายเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งพึงปรารถนา ในทางโลก ผู้ใดยึดครองตำแหน่งย่อมได้มาทั้งอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ดุจเทพเจ้า ฉะนั้นตลอดระยะเวลา อันยาวนานของการปกครองใต้ระบบเทวสิทธิ์ ได้มีการช่วงชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งทำให้ เป็นมูลเหตุไปสู่ความอ่อนแอ และต้องสูญเสียเอกราชให้แก่ข้าศึกไปถึงสองครั้งสองครา ซึ่งประวัติศาสตร์ ของกรุงศรีอยุธยาจะยืนยันข้อความจริงดังกล่าวได้ดี เหตุการณ์เช่นนี้มิได้มีปรากฎในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือ การปกครองระบบบิดากับบุตร เพราะตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงเสมือนตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น เมื่อคนที่ได้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสิ้นไป คนใหม่ที่มีอาวุโสรองลงไปจะเข้ารับหน้าที่แทน มิได้ถือว่า เป็นตำแหน่งพิเศษเปี่ยมด้วยอภิสิทธิ์ดังระบบเทวสิทธิ์
ข้อเสีย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบเทวสิทธ์ที่สะท้อนเป็นมรดกต่อการปกครองมาจน กระทั่งปัจจุบันคือได้สร้างสภาพจิตใจคนไทยให้มีความนิยมนับถือในตัวบุคคลมากกว่าหลักการเกินไป ซึ่งเป็นสภาพจิตใจที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดนิสัยราษฎรเลือกผู้ปกครองของตนโดย อารมณ์ในด้านความชอบพอรักใคร่ยกย่องนับถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าในเรื่องหลักเกณฑ์และอุดมการณ์





ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา
อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้ อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว
การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะแรก

สมัยกรุงศรีอยุธยาระยะแรกกำหนดโดยถือเอารูปแบบการปกครองที่มีแนวเดียวกัน คือ ตั้งแต่สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชานีสมัยสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) จนถึง สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ฝ่ายบริหาร
พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการบริการาชการผ่านดินและเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ ดังข้อความในพระไอยการลักษณะเบ็ดเสร็จที่ประกาศเมื่อ พ.ศ.๑๙๐๒ กำหนดให้แผ่นดินทั่วแว่นแคว้นเป็นที่ที่พระมหากษัตริย์ให้ราษฎรอาศัยอยุ่ห้ามซื้อขายแก่กัน ส่วนการควบคุมปกครองดูแลราษฎรกำหนดไว้ในพระไอยการบานแผนก ความว่า ให้เจ้าพญาแลพญา พระมหาราชครู พระหลวง เมือง เจ้าราชนิกูล ขุนหมื่น พัน ทนาย ฝ่ายทหาร พลเรือน สมใน สมนอก สังกัดพันทั้งปวงให้ยื่นเทบียรหางว่าวหมู่ไพร่หลวง แลภักพวกสมกำลัง เลกไท เลกทาษ ขึ้นไว้แก่สัศดีซ้ายขวาจงทุกหมู่ทุกกรม? แสดงถึงการบริหาร บ้านเมืองแบบกึ่งกระจายอำนาจและแม้ว่ากฎหมายต่าง ๆ ดูจะให้อำนาจล้นพ้นแก่พระมหากษัตริย์ในการบริหารบ้านเมือง แต่จริง ๆ แล้ว มีข้อจำกัดพระราชอำนาจ เช่น ความเป็นธรรมราชา และพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ที่ โปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นไว้เพื่อทัดทานการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่อาจจะมิชอบด้วยเหตุผล การปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ทรงวางระเบียบโดยแบ่งเมือง เป็นชั้น ๆ คือ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และศูนย์กลาง
สำหรับส่วนกลางหรือราชธานี จัดระเบียบบริหารตามแบบเขมร คือ จัดเป็นจัตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา มีหน้าที่ดังนี้

๑.เวียงหรือเมือง มีขุนเมืองปกครองท้องที่บังคับบัญชาขุนและแขวงในกรุง รักษา ความเรียบร้อยปราบปรามโจรผู้ร้ายและลงโทษผู้ทำผิด

๒.วัง มีขุนวังดูแลราชการเกี่ยวกับราชสำนัก รักษาพระราชมณเฑียร พระราชวังชั้นนอก ชั้นใน พระราชพิธี ทั้งปวง บังคับบัญชาราชการฝ่ายใน รวมทั้งพิจารณาพิพากษาคดีของราษฎรเป็นการแบ่งเบาพระราชภาระในด้านตุลาการ

๓.กรมคลัง มีขุนคลัง ทำหน้าที่จัดการ เกี่ยวกับพระราชทรัพย์การการภาษีอากร

๔.กรมนา มีขุนนาทำหน้าที่ดูแลการทำไร่ทำนา และจัดหารักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร


เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยุ่ ๔ ทิศ สำหรับป้องกันราชานี ระยะทางไปมาถึงกันภายใน ๒ วัน คือ เมืองลพบุรี เมือนนครนายก เมืองพระปะแดง และเมืองสุพรรณบุรี มีพระ ราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงปกครอง


มีหัวเมืองชั้นในอยู่ถัดออกไป คือ ทิศเหนือมีเมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองสิงห์ เมืองแพรก (เมืองสรรค์) ทิศตะวันออกมีเมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี ทิศใต้มี เมืองเพชรบุรี ทิศตะวันตกมีเมืองราชบุรี พระมหากษัตริย์แต่งตั้งเจ้าเมืองจากส่วนกลางให้ไปปกครองเมืองเหล่านี้


เมืองที่อยู่ไกลออกไป คือ เมืองเจ้าพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองใหญ่ เช่น เมืองนครราชสีมา (โคราดบุรี) เมืองจันทบุรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองเชียงกราน เป็นต้น มีเจ้า นายชั้นสูงไปปกครอง


เมืองที่อยู่ไกลออกไปมาก ประชาชนเป็นชาวต่างชาติต่างภาษากับอยุธยา เรียกว่าเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองกัมพูชา มะละกา และยะโฮว์
การบริหาราชการส่วนภูมิภาคแบบนี้มีข้อเสียตรงที่ว่า หัวเมืองชั้นนอกอยู่ไกลจากราชธานีระยะเดินทางหลายวันมาก ส่วนกลางไม่สามารถควบคุมใกล้ชิด เจ้าเมืองเหล่านี้จึง ปกครองบ้านเมืองอย่างแทบไม่ต้องขึ้นกับการบริหารราชการส่วนกลางเลย ดังนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรัชกาลหรือกษัตริย์ที่ปกครองอ่อนแอ ความวุ่นวายมักจะเกิดขึ้นโดยเจ้าเมืองคิดตั้งตัวเป็นอิสระ ทำให้ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของราชอาณาจักร นอกจากนั้น เมืองลุกหลวงหรือเมืองหน้าด่านที่ให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงไปปกครองนั้น เป็นเมืองที่มีความสำคัญสำหรับป้องกันราชธานี ดังนั้น จึงต้องมีความเข้มแข็งมั่นคงมาก เมื่อเข้มแข็งและมั่น คงถึงขนาดอาจท้าทายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ โดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนรัชกาลใหม่ เจ้าเมืองลูกหลวงอาจกระด้างกระเดื่องและที่ร้ายแรงหนักถึงขนาดยกทัพมาช่วงชิงพระราชบัลลังก์ก็มีมาแล้ว

ฝ่ายนิติบัญญัติ
พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจในการบัญญัติกฎหมายออกมาให้ประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติ เป็นกฎหมายที่ พยายามให้ความยุติธรรมแก่สังคม มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลาและมีครบทุกด้าน เช่น กฎหมายที่กำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินคดี กฎหมายปกครองแผ่นดิน อีกมากมายหลายลักษณะ รวมทุกลักษณะแล้วมีถึง ๑,๖๐๓ บท จำแนกตามรัชกาลได้ดังนี้

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) มีกฎหมายรวม ๑๐ ฉบับ คือ


๑.ลักษณะพยาน ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๔


๒.ลักษณะอาญาหลวง ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕


๓.ลักษณะรับฟ้อง ตรา เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๙


๔.ลักษณะลักพา ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๙


๕.ลักษณะอาญาราษฎร ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๑


๖.ลักษณะโจร ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓


๗.ลักษณะโจร เพิ่มเติม (ว่าด้วยสมโจร) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๐


๘.ลักษณะเบ็ดเสร็จ (ว่าด้วยที่ดิน) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๓


๙.ลักษณะผัวเมีย ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔


๑๐.ลักษณะผัวเมีย ( เพิ่มเติม) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕

สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) มีเพียงฉบับเดียว คือ กฎหมายลักษณะอาญาหลวง (เพิ่มเติม) ตราเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๖

ฝ่ายตุลาการ
พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจตุลาการโดยผ่านคณะตุลาการ ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งศาล ๔ ประเภท คือ

๑.ศาลกรมวัง พิพากษาคดีราษฎรฟ้องร้องกันเอง

๒.ศาลกรมเมืองหรือนครบาล คดีที่ขึ้นศาลนี้เป็นคดีร้ายแรง เช่น ผู้ร้ายที่เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน

๓.ศาลกรมนา พิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โค กระบือ

๔.ศาลกรมคลัง พิพากษาคดีเกี่ยวกับพระราชทรัพย์หลวง

การพิจารณาคดีความหรือการพิพากษาคดี ใช้บุคคล ๒ พวกทำหน้าที่ คือ พวกแรกเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา เป็นข้าราชการไทยที่มีหน้าที่รับฟ้อง บังคับคดี และลงโทษ พวกที่สองเรียกว่าลูกขุน ณ ศาลหลวง เป็น พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในพระธรรมศาสตร์ จำนวน ๑๒ คน ทำหน้าที่ตรวจสำนวนและตัดสินชี้ขาด วิธีพิจารณาความมีขั้นตอนว่า ผู้จะฟ้องร้องต้องไปร้องอต่อจ่าศาล เมื่อจ่าศาลจดถ้อยคำแล้วจะให้พนักงานประทับรับฟ้อง นำขึ้น ปรึกษาลูกขุน ณ ศาลหลวงว่า คดีนี้ควรจะรับพิจารณาหรือไม่ ถ้าลูกขุน ณ ศาลหลวง เห็นว่าสมควรรับ ก็จะชี้ว่า ศาลกรมไหนควรพิจารณาคดีนี้ แล้วจึงส่งสำนวนฟ้องกับตัวโจทย์ไปยังศาลนั้น ๆ ตุลาการจะออกหมายเรียกจำเลยมา ให้การแล้วส่งคำให้การไปให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ชี้ ๒ สถาน คือ ข้อใดรับกันในสำนน และข้อใดต้องสืบพยาน ถ้าต้องสืบพยานตุลาการจะสืบพยาน สืบเสร็จแล้วจึงส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ชี้ว่าใครผิดใครถูก และลูกขุน ณ ศาลา จะทำหน้าที่บังคับคดีและลงโทษผู้ผิด ถ้าคดีความมีปัญหามาก ตัดสินยาก หร่อคู่คดีไม่พอใจ ไม่ยอมรับคำตัดสินก็ให้นำขึ้นกราบบังคมทูล ดังพระไอยการลักษณะตุลาการ กล่าวไว้ว่า ?อนึ่งความนั้นข้องขัดจะพิพากษาบังคับ บัญชายากไซร้ ให้ขุนกาลชุมนุมจัตุสดมให้ช่วยว่า ถ้าพิพากษามิได้ให้เอากราบบังคมทูลพระรพุทธฺเจ้าอยู่หัวจะตรัสเอง และในการฟ้องร้องมีกฎหมายกำหนดมิให้ฟ้องร้องบุคคล ๗ ประเภท ดังข้อความต่อไปนี้

ผู้มีอรรถคดีจะมาให้กฎหมายรับฟ้อง ห้ามมิให้รับฟ้องไว้บังคับบัญชานั้น มีในหลักอินทพาษ ๗ คือ คนพิกลจริตบ้าใบ้ ๑ คนเสียจักษุทั้งสองข้างมิได้เห็น ๑ คนเสียหูทัง ๒ ข้างมิได้ยิน ๑ เป็น ง่อยเปลี้ยเดิรไปมามิได้ ๑ เป็นคนกยาจกถือกระเบื้องกะลาขอทาน ๑ เป็นคนสูงอายุศมหลงใหล ๑ เด็กต่ำอายุศมเอาถ้อยคำมิได้ ๑ เป็น ๗ จำพวก

สรุปว่าการปกครองกรุงศรีอยุธยา ระยะแรก รับแบบสุโขทัยมาในข้อที่ว่าปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นเดียวกัน แต่ต่างกันในการเน้นความสำคัญของผู้ปกครองคนละลักษณะ คือ สุโขทัยเน้นความสำคัญดุจบิดาปกครองบุตร และใช้คติสกุลวงศ์ ส่วนสมัย กรุงศรีอยุธยาปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริงตามแบบเขมร

**ข้อมูลจาก..หนังสือประวัติศาสตร์ไทย การปกครอง สังคม เศรษฐกิจและความสัมพันธ์กับต่างประเทศก่อนสมัยสุโขทัยจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕
โดย..ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ บังอร ปิยะพันธุ์
อ.ม (ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏ นครปฐม
ภาพ...พระเจดีย์สามองค์ วัดพระศรีสรรเพชญ พระนครศรีอยุธยา
จากหนังสือ...นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
แบบทดสอบวันวิสาขบูชา